วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

วาเลนไทน์



วาเลนไทน์ 



ค่ไออุ่นที่ได้มา ก็ยิ้มชื่น
ที่ใครๆเรียกว่า วันแห่งความรัก สักหนึ่งคืน
เก็บซ่อนความขมขื่น ให้ลึกสุดใจ
ก็อยากหยุดเวลาไว้ตรงนี้ ที่เคียงใกล้
วันสำคัญวันนี้ ไม่อยากเหงาใจ
พรุ่งนี้จะอย่างไร ไม่อยากให้กังวล



ประวัติของวันวาเลนไทน

วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด
ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น
 กรุงโรมได้เกิดสงครามหลาย ครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับ
ปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วมในศึกสงคราม
 และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัว
และคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศ
ให้ยกเลิกงานแต่งงานและงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม ถึงกระนั้นก็ตาม
 ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญวาเลนไทน์ ท่านเป็น
พระที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์และนักบุญมาริอุส
 ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็ก ๆ
 เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับ ๆ ด้วย
และจากการกระทำเหล่านี้เอง ทำให้นักบุญวาเลนไทน์ถูกจับและถูกตัดสินประหารโดยการตัดศรีษะ
 ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 270 ซึ่งถือเป็นวันที่ท่านได้ทนทุกข์ทรมาน
และเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์   



ดอกไม้วันวาเลนไทน์


 มนุษย์ได้ใช้ดอกไม้เป็นสื่อในการแสดงความรักต่อกันมานานแล้ว เราอาจจะคิดว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่สามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น   แต่แท้จริงแล้ว ดอกไม้แต่ละชนิดสามารถสื่อความรักได้หลายรูปแบบ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย
กุหลาบแดง (red rose) : ส่วนใหญ่จะใช้ในความหมายแทน
ประโยคที่ว่า "ฉันรักเธอ" การให้ดอกกุหลาบแดงกับคนที่รักความ
หมายถึงความรักอันลึกซึ้ง จริงจัง กุหลาบแดงจึงมักจะเป็นดอกไม้
ที่ชายหนุ่มให้หญิงสาวที่ตนเองตั้งใจจะใช้ชีวิตร่วมกัน
กุหลาบขาว (white rose) : สีขาวเป็นสีแห่งความบริสุทธ์
กุหลาบขาวจึงแทนความหมายแห่งความรักอันบริสุทธิ์ใจม่ต้องการ
สิ่งตอบแทน ดังนั้นมันจึงสามารถใช้แทนความรักของคนต่างวัย
ความรักต่อพ่อแม่ เพื่อน หรือคนที่เรารู้สึกดีด้วยอย่างบริสุทธิ์ใจได้
กุหลาบชมพู (pink rose) : มักถูกใช้แทนความรักแบบโรแมนติก
และความเสน่หาต่อกัน การให้ดอกกุหลาบสีชมพูสามารถแสดงถึงความรัก
ที่กำลังเริ่มงอกงามในใจ และสามารถพัฒนาต่อไปเป็นความรักที่ลึกซึ้งได้
 กุหลาบเหลือง (yellow rose) : สีเหลืองเป็นสีแห่งความสดใส
กุหลาบสีเหลืองถูกใช้สำหรับแทนความรักแบบเพื่อน และความ
สนุกสนานรื่นเริงจึงมักจะนำมันมาประดับตะกร้าสำหรับเยี่ยมผู้ป่วย
เพื่อทำให้คนป่วยรู้สึกสดชื่นรื่นเริงขึ้นนั่นเอง
สำหรับดอกไม้อื่น ๆ ที่ถูกมาใช้แทนความหมายแห่งความรักก็มี
ดอกทิวลิบสีแดง (red tulib) ชาวตะวันตกใช้มันแทนการประกาศความรัก
อย่างเปิดเผย คล้าย ๆ กับดอกกุหลาบแดง
ส่วนดอกคาร์เนชั่นสีชมพู(pink carnation) ใช้สื่อความหมายว่า "ถึงอย่างไรผมก็ยังรักคุณ"
หรือ "คุณยังอยู่ในหัวใจฉันเสมอ" .
ดอกลิลลี่สีขาว (white lilly) แสดงความรักแบบบริสุทธ์ เช่นเดียวกันกับดอกกุหลาบขาว
นอกจากนั้นลิลลี่สีขาวยังแสดงถึงความรักแบบอ่อนหวานจริงใจ และเทอดทูน และมักถูกใช้แทนประโยคที่ว่า "ฉันรู้สึกดี ๆ ที่ได้ได้รู้จัก และอยู่ใกล้คุณ "
สำหรับดอก forget-me-not มีความหมายตรงตัวคือได้โปรดอย่าลืมฉัน และอย่าลืมความรู้สึกดี ๆ ที่เคยมีให้กัน
มาถึงดอกไม้ที่เห็นได้ทั่วไปในบ้านเราบ้าง
 ดอกทานตะวัน (sunflower) มีความหมายถึงความรักแบบคลั่งไคล้ ความรักแบบบูชา แต่สำหรับชาวตะวันตก
ดอกทานตะวันจะหมายถึงความเข้มแข็งอดทน จึงสามารถใช้แทนความรักที่ต้องฝ่าฟันกว่าจะได้ความรักมา
จะเห็นได้ว่าดอกไม้เป็นประดิษฐกรรมทางธรรมชาติที่มนุษย์เรานำมาใช้เป็นสื่อแทนความหมาย
แห่งความรักได้หลายรูปแบบ การมอบดอกไม้ให้กับคนที่เรามีความรู้สึกพิเศษจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควร
มองข้าม...

Vlentine นี้คุณมีดอกไม้ในใจที่จะให้คนที่คุณรักแล้วหรือยัง  และพร้อมจะบอกรักกับคนที่ชอบ  และคนรักแล้วหรือยังขอให้มีความสุขวันวาเลนไทน์

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ครูในดวงใจ




ครูในดวงใจ







 ปา เจ รา จริยา โหนติ
คุนุตรา นุสา สกา 
ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา
จารึกพระคุณสูงค่า ผู้นำวิชามาให้
เป็นศิษย์มีครู จึงยืนสู้อย่างผู้มีชัย
คุณครูชี้นำทางใจ จึงทำให้ศิษย์มีวันนี้
ภาพครูแสนดี ยังติดตรึงที่ดวงใจ
เป็นคนผู้มีแต่ให้ มีใจสู้งานเต็มที่
รักศิษย์ทุกคน ไม่เคยบ่นจนหรือมั่งมี
จับชอล์คเขียนคุณความดี จับมือชี้คุณธรรม
ครูทำงานหนัก แต่ก็รักศักดิ์ศรี
พอใจสิ่งที่ตนมี เป็นพิมพ์ดีให้ลูกศิษย์จำ
ทุกเส้นทางสู้ ศิษย์ยึดครูนั้นเป็นผู้นำ
คำสอนทุกอย่างจดจำ ทุกการกระทำเรียนรู้
ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา
บันทึกความดีสูงค่า นำมาเป็นแนวทางสู้
สังคมวุ่นวาย ขอส่งใจมายืนข้างครู
ครูยัง สังคมจึงอยู่ ศิษย์เชิดชู ครูในดวงใจ
ขุนลำดวน ปากกาหัวใจ
เขียนชื่อครูไว้บูชา บันทึกความดีสูงค่า
นำมาเป็นแนวทางสู้ สังคมวุ่นวาย
ขอส่งใจมายืนข้างครู ครูยัง สังคมจึงอยู่
ศิษย์เชิดชู ครูในดวงใจ.........


ความสำคัญของครู

         ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี
         ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบ าชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง

ครูในดวงใจ




ครูในดวงใจ







 ปา เจ รา จริยา โหนติ
คุนุตรา นุสา สกา 
ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา
จารึกพระคุณสูงค่า ผู้นำวิชามาให้
เป็นศิษย์มีครู จึงยืนสู้อย่างผู้มีชัย
คุณครูชี้นำทางใจ จึงทำให้ศิษย์มีวันนี้
ภาพครูแสนดี ยังติดตรึงที่ดวงใจ
เป็นคนผู้มีแต่ให้ มีใจสู้งานเต็มที่
รักศิษย์ทุกคน ไม่เคยบ่นจนหรือมั่งมี
จับชอล์คเขียนคุณความดี จับมือชี้คุณธรรม
ครูทำงานหนัก แต่ก็รักศักดิ์ศรี
พอใจสิ่งที่ตนมี เป็นพิมพ์ดีให้ลูกศิษย์จำ
ทุกเส้นทางสู้ ศิษย์ยึดครูนั้นเป็นผู้นำ
คำสอนทุกอย่างจดจำ ทุกการกระทำเรียนรู้
ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา
บันทึกความดีสูงค่า นำมาเป็นแนวทางสู้
สังคมวุ่นวาย ขอส่งใจมายืนข้างครู
ครูยัง สังคมจึงอยู่ ศิษย์เชิดชู ครูในดวงใจ
ขุนลำดวน ปากกาหัวใจ
เขียนชื่อครูไว้บูชา บันทึกความดีสูงค่า
นำมาเป็นแนวทางสู้ สังคมวุ่นวาย
ขอส่งใจมายืนข้างครู ครูยัง สังคมจึงอยู่
ศิษย์เชิดชู ครูในดวงใจ.........


ความสำคัญของครู

         ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี
         ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบ าชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

วันเด็กแห่งชาติ

วันเด็กแห่งชาติปี  2555




         ความหมาย-ของคำว่าวันเด็ก





ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมาย ของคำว่า "เด็ก" ไว้ดังนี้

    เด็ก หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก
    เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์
    เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์









  เมื่อปีพุทธศักราช 2498 ได้เกิดปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้น โดยองค์การสหประชาชาตทำให้ทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ ของตนมากขึ้น การขานรับในการนี้จากประเทศต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเอง ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศต่างก็จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของประเทศตนขึ้น โดยกำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ
            การจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติในแต่ละประเทศขณะนั้น มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ โดยยึดหลักการให้ความสำคัญแก่เด็กเป็นวัตถุประสงค์หลัก โดยเปิดสถานที่ราชการที่สำคัญเช่น พิพิธภัณฑ์ รัฐสภา เป็นต้น ให้เด็ก ๆได้เข้าชมและศึกษา บางแห่งจัดการแสดงมหรสพ มีการแจกอาหาร แข่งขันเกม แจกของขวัญ ฯลฯ ต่อมางานนี้ได้รับความสำคัญทั่วโลกจึงได้จัดกันแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน

 ประวัติความเป็นมา

         วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ

         ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ

         สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

วันเด็ก

         อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้

         ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
 งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน





 วัตถุประสงค์การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ








 สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก







         นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ปี ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า "เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ"
 กิจกรรมวันเด็ก
         กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ  ล้วนมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย มีคำเชื้อเชิญเพราะ ๆ มีคำอวยพรให้เด็กๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ หรือร่วมกันทำกิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็กๆ จัดบรรยากาศเพื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ ฯลฯ


วันเด็ก














การจัดงานวันเด็กในประเทศไทย

            ปีพุทธศักราช 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้น ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กขึ้นมา
            ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของนาย วี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่
            ขณะนั้น สภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไป คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ
            ดังนั้น ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 ประเทศไทย จึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา ทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติสำหรับประเทศไทย และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ.2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ เพื่อความเหมาะสมด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทยเราเป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อไปก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด จึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนไปเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมเสียทุกสิ่งทุกอย่างได้สะดวกสบายขึ้น และมีความเหมาะสมมากกว่า
            จากข้อเสนอดังกล่าว คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ.2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
            งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ.2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาได้ 38 ปีแล้ว (งดจัดในปี พ.ศ.2507 หนึ่งปี)














วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ

  1. เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ
  2. เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  3. เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตน และอยู่ในระเบียบวินัยอันดี
  4. เพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก


    คำขวัญวันเด็กปี  2555


 นายกรัฐมนตรี มอบคำขวัญวันเด็ก เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2555 
          สำนักงานโฆษกรัฐบาลแจ้งว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบคำขวัญวันเด็ก เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2555ดังนี้
         

“สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี”

UploadImage