วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

วาเลนไทน์



วาเลนไทน์ 



ค่ไออุ่นที่ได้มา ก็ยิ้มชื่น
ที่ใครๆเรียกว่า วันแห่งความรัก สักหนึ่งคืน
เก็บซ่อนความขมขื่น ให้ลึกสุดใจ
ก็อยากหยุดเวลาไว้ตรงนี้ ที่เคียงใกล้
วันสำคัญวันนี้ ไม่อยากเหงาใจ
พรุ่งนี้จะอย่างไร ไม่อยากให้กังวล



ประวัติของวันวาเลนไทน

วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด
ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น
 กรุงโรมได้เกิดสงครามหลาย ครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับ
ปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วมในศึกสงคราม
 และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัว
และคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศ
ให้ยกเลิกงานแต่งงานและงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม ถึงกระนั้นก็ตาม
 ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญวาเลนไทน์ ท่านเป็น
พระที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์และนักบุญมาริอุส
 ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็ก ๆ
 เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับ ๆ ด้วย
และจากการกระทำเหล่านี้เอง ทำให้นักบุญวาเลนไทน์ถูกจับและถูกตัดสินประหารโดยการตัดศรีษะ
 ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 270 ซึ่งถือเป็นวันที่ท่านได้ทนทุกข์ทรมาน
และเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์   



ดอกไม้วันวาเลนไทน์


 มนุษย์ได้ใช้ดอกไม้เป็นสื่อในการแสดงความรักต่อกันมานานแล้ว เราอาจจะคิดว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่สามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น   แต่แท้จริงแล้ว ดอกไม้แต่ละชนิดสามารถสื่อความรักได้หลายรูปแบบ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย
กุหลาบแดง (red rose) : ส่วนใหญ่จะใช้ในความหมายแทน
ประโยคที่ว่า "ฉันรักเธอ" การให้ดอกกุหลาบแดงกับคนที่รักความ
หมายถึงความรักอันลึกซึ้ง จริงจัง กุหลาบแดงจึงมักจะเป็นดอกไม้
ที่ชายหนุ่มให้หญิงสาวที่ตนเองตั้งใจจะใช้ชีวิตร่วมกัน
กุหลาบขาว (white rose) : สีขาวเป็นสีแห่งความบริสุทธ์
กุหลาบขาวจึงแทนความหมายแห่งความรักอันบริสุทธิ์ใจม่ต้องการ
สิ่งตอบแทน ดังนั้นมันจึงสามารถใช้แทนความรักของคนต่างวัย
ความรักต่อพ่อแม่ เพื่อน หรือคนที่เรารู้สึกดีด้วยอย่างบริสุทธิ์ใจได้
กุหลาบชมพู (pink rose) : มักถูกใช้แทนความรักแบบโรแมนติก
และความเสน่หาต่อกัน การให้ดอกกุหลาบสีชมพูสามารถแสดงถึงความรัก
ที่กำลังเริ่มงอกงามในใจ และสามารถพัฒนาต่อไปเป็นความรักที่ลึกซึ้งได้
 กุหลาบเหลือง (yellow rose) : สีเหลืองเป็นสีแห่งความสดใส
กุหลาบสีเหลืองถูกใช้สำหรับแทนความรักแบบเพื่อน และความ
สนุกสนานรื่นเริงจึงมักจะนำมันมาประดับตะกร้าสำหรับเยี่ยมผู้ป่วย
เพื่อทำให้คนป่วยรู้สึกสดชื่นรื่นเริงขึ้นนั่นเอง
สำหรับดอกไม้อื่น ๆ ที่ถูกมาใช้แทนความหมายแห่งความรักก็มี
ดอกทิวลิบสีแดง (red tulib) ชาวตะวันตกใช้มันแทนการประกาศความรัก
อย่างเปิดเผย คล้าย ๆ กับดอกกุหลาบแดง
ส่วนดอกคาร์เนชั่นสีชมพู(pink carnation) ใช้สื่อความหมายว่า "ถึงอย่างไรผมก็ยังรักคุณ"
หรือ "คุณยังอยู่ในหัวใจฉันเสมอ" .
ดอกลิลลี่สีขาว (white lilly) แสดงความรักแบบบริสุทธ์ เช่นเดียวกันกับดอกกุหลาบขาว
นอกจากนั้นลิลลี่สีขาวยังแสดงถึงความรักแบบอ่อนหวานจริงใจ และเทอดทูน และมักถูกใช้แทนประโยคที่ว่า "ฉันรู้สึกดี ๆ ที่ได้ได้รู้จัก และอยู่ใกล้คุณ "
สำหรับดอก forget-me-not มีความหมายตรงตัวคือได้โปรดอย่าลืมฉัน และอย่าลืมความรู้สึกดี ๆ ที่เคยมีให้กัน
มาถึงดอกไม้ที่เห็นได้ทั่วไปในบ้านเราบ้าง
 ดอกทานตะวัน (sunflower) มีความหมายถึงความรักแบบคลั่งไคล้ ความรักแบบบูชา แต่สำหรับชาวตะวันตก
ดอกทานตะวันจะหมายถึงความเข้มแข็งอดทน จึงสามารถใช้แทนความรักที่ต้องฝ่าฟันกว่าจะได้ความรักมา
จะเห็นได้ว่าดอกไม้เป็นประดิษฐกรรมทางธรรมชาติที่มนุษย์เรานำมาใช้เป็นสื่อแทนความหมาย
แห่งความรักได้หลายรูปแบบ การมอบดอกไม้ให้กับคนที่เรามีความรู้สึกพิเศษจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควร
มองข้าม...

Vlentine นี้คุณมีดอกไม้ในใจที่จะให้คนที่คุณรักแล้วหรือยัง  และพร้อมจะบอกรักกับคนที่ชอบ  และคนรักแล้วหรือยังขอให้มีความสุขวันวาเลนไทน์

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ครูในดวงใจ




ครูในดวงใจ







 ปา เจ รา จริยา โหนติ
คุนุตรา นุสา สกา 
ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา
จารึกพระคุณสูงค่า ผู้นำวิชามาให้
เป็นศิษย์มีครู จึงยืนสู้อย่างผู้มีชัย
คุณครูชี้นำทางใจ จึงทำให้ศิษย์มีวันนี้
ภาพครูแสนดี ยังติดตรึงที่ดวงใจ
เป็นคนผู้มีแต่ให้ มีใจสู้งานเต็มที่
รักศิษย์ทุกคน ไม่เคยบ่นจนหรือมั่งมี
จับชอล์คเขียนคุณความดี จับมือชี้คุณธรรม
ครูทำงานหนัก แต่ก็รักศักดิ์ศรี
พอใจสิ่งที่ตนมี เป็นพิมพ์ดีให้ลูกศิษย์จำ
ทุกเส้นทางสู้ ศิษย์ยึดครูนั้นเป็นผู้นำ
คำสอนทุกอย่างจดจำ ทุกการกระทำเรียนรู้
ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา
บันทึกความดีสูงค่า นำมาเป็นแนวทางสู้
สังคมวุ่นวาย ขอส่งใจมายืนข้างครู
ครูยัง สังคมจึงอยู่ ศิษย์เชิดชู ครูในดวงใจ
ขุนลำดวน ปากกาหัวใจ
เขียนชื่อครูไว้บูชา บันทึกความดีสูงค่า
นำมาเป็นแนวทางสู้ สังคมวุ่นวาย
ขอส่งใจมายืนข้างครู ครูยัง สังคมจึงอยู่
ศิษย์เชิดชู ครูในดวงใจ.........


ความสำคัญของครู

         ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี
         ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบ าชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง

ครูในดวงใจ




ครูในดวงใจ







 ปา เจ รา จริยา โหนติ
คุนุตรา นุสา สกา 
ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา
จารึกพระคุณสูงค่า ผู้นำวิชามาให้
เป็นศิษย์มีครู จึงยืนสู้อย่างผู้มีชัย
คุณครูชี้นำทางใจ จึงทำให้ศิษย์มีวันนี้
ภาพครูแสนดี ยังติดตรึงที่ดวงใจ
เป็นคนผู้มีแต่ให้ มีใจสู้งานเต็มที่
รักศิษย์ทุกคน ไม่เคยบ่นจนหรือมั่งมี
จับชอล์คเขียนคุณความดี จับมือชี้คุณธรรม
ครูทำงานหนัก แต่ก็รักศักดิ์ศรี
พอใจสิ่งที่ตนมี เป็นพิมพ์ดีให้ลูกศิษย์จำ
ทุกเส้นทางสู้ ศิษย์ยึดครูนั้นเป็นผู้นำ
คำสอนทุกอย่างจดจำ ทุกการกระทำเรียนรู้
ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา
บันทึกความดีสูงค่า นำมาเป็นแนวทางสู้
สังคมวุ่นวาย ขอส่งใจมายืนข้างครู
ครูยัง สังคมจึงอยู่ ศิษย์เชิดชู ครูในดวงใจ
ขุนลำดวน ปากกาหัวใจ
เขียนชื่อครูไว้บูชา บันทึกความดีสูงค่า
นำมาเป็นแนวทางสู้ สังคมวุ่นวาย
ขอส่งใจมายืนข้างครู ครูยัง สังคมจึงอยู่
ศิษย์เชิดชู ครูในดวงใจ.........


ความสำคัญของครู

         ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี
         ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบ าชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

วันเด็กแห่งชาติ

วันเด็กแห่งชาติปี  2555




         ความหมาย-ของคำว่าวันเด็ก





ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมาย ของคำว่า "เด็ก" ไว้ดังนี้

    เด็ก หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก
    เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์
    เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์









  เมื่อปีพุทธศักราช 2498 ได้เกิดปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้น โดยองค์การสหประชาชาตทำให้ทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ ของตนมากขึ้น การขานรับในการนี้จากประเทศต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเอง ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศต่างก็จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของประเทศตนขึ้น โดยกำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ
            การจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติในแต่ละประเทศขณะนั้น มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ โดยยึดหลักการให้ความสำคัญแก่เด็กเป็นวัตถุประสงค์หลัก โดยเปิดสถานที่ราชการที่สำคัญเช่น พิพิธภัณฑ์ รัฐสภา เป็นต้น ให้เด็ก ๆได้เข้าชมและศึกษา บางแห่งจัดการแสดงมหรสพ มีการแจกอาหาร แข่งขันเกม แจกของขวัญ ฯลฯ ต่อมางานนี้ได้รับความสำคัญทั่วโลกจึงได้จัดกันแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน

 ประวัติความเป็นมา

         วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ

         ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ

         สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

วันเด็ก

         อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้

         ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
 งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน





 วัตถุประสงค์การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ








 สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก







         นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ปี ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า "เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ"
 กิจกรรมวันเด็ก
         กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ  ล้วนมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย มีคำเชื้อเชิญเพราะ ๆ มีคำอวยพรให้เด็กๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ หรือร่วมกันทำกิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็กๆ จัดบรรยากาศเพื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ ฯลฯ


วันเด็ก














การจัดงานวันเด็กในประเทศไทย

            ปีพุทธศักราช 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้น ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กขึ้นมา
            ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของนาย วี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่
            ขณะนั้น สภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไป คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ
            ดังนั้น ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 ประเทศไทย จึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา ทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติสำหรับประเทศไทย และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ.2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ เพื่อความเหมาะสมด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทยเราเป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อไปก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด จึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนไปเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมเสียทุกสิ่งทุกอย่างได้สะดวกสบายขึ้น และมีความเหมาะสมมากกว่า
            จากข้อเสนอดังกล่าว คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ.2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
            งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ.2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาได้ 38 ปีแล้ว (งดจัดในปี พ.ศ.2507 หนึ่งปี)














วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ

  1. เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ
  2. เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  3. เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตน และอยู่ในระเบียบวินัยอันดี
  4. เพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก


    คำขวัญวันเด็กปี  2555


 นายกรัฐมนตรี มอบคำขวัญวันเด็ก เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2555 
          สำนักงานโฆษกรัฐบาลแจ้งว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบคำขวัญวันเด็ก เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2555ดังนี้
         

“สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี”

UploadImage

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อาเซี่ยน(Asean)

 ความเป็นมาของอาเซียน



            

          อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน       
            “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ   




จุดประสงค์ของการจัดตั้ง




                      ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ 
      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 

      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค 

      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค 

      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี 
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ   
          และองค์การระหว่างประเทศ

                        ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง















ประเทศสมาชิกอาเซี่ยน



 


1.ราชอาณาจักรไทย   Thailand     •    ปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    •    ประกอบด้วยประชาชนเชื้อสายไทยกว่า 80% ชาวจีน 10% ชาวมาเลย์อีก 3% นอกจากนั้นยังมีชาวเขาเผ่าต่าง ๆ
    •    ความเป็นมิตรและการรับรองแขกผู้มาเยือน จนได้รับสมญานามว่าเป็น "สยามเมืองยิ้ม"
    •    เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจจากยุโรป

ข้อมูลทั่วไป 
พื้นที่               514,000 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง        กรุงเทพมหานคร
ประชากร          ประมาณ 65 ล้านคน

ภาษาราชการ       ภาษาไทย
ศาสนา               พุทธ (95%) อิสลาม คริสต์ ฯลฯ (5%)
พระมหากษัตริย์                        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช ฯ
นายกรัฐมนตรี                           ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร
รมว.กต.                                  กษิต ภิรมย์
วันชาติ                                    5 ธันวาคม

ข้อมูลเศรษฐกิจ 
GDP                           559.5 พันล้าน USD
GDP Per Capita            8,000 USD
Real GDP Growth         ร้อยละ 4.7
ทรัพยากรสำคัญ            ดีบุก ก๊าซธรรมชาติ
อุตสาหกรรมหลัก           อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์
สกุลเงิน                       บาท
อัตราเงินเฟ้อ                 ร้อยละ 5.5
สินค้านำเข้าที่สำคัญ        เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ก๊าซธรรมชาติ แผงวงจรไฟฟ้า
เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ         สินแร่โลหะ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ยานพาหนะและอุปกรณ์
สินค้าส่งออกที่สำคัญ                        น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ยางพารา ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก เครื่อง
จักรกลและส่วนประกอบ           
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ         อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป
ตลาดส่งออกที่สำคัญ        อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป

2.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (INDONESIA) 
    •  เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก
    •  ทรัพยากรธรรมชาติมาก (น้ำมัน ถ่านหิน ทองคำ สัตว์น้ำ)
    •  เป็นแหล่งประมงที่ใหญ่ที่สุดของไทย
    •  มีบทบาทสูงในกลุ่ม NAM และ OIC
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่              5,193,250 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง       กรุงจาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร         245.5 ล้านคน
ภาษาราชการ   อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)
ศาสนา           อิสลาม (88%) คริสต์ (8%) ฮินดู (2%) พุทธ (1%) ศาสนาอื่น ๆ (1%)
พื้นที่              5,193,250 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง       กรุงจาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร         245.5 ล้านคน
ภาษาราชการ   อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)
ศาสนา           อิสลาม (88%) คริสต์ (8%) ฮินดู (2%) พุทธ (1%) ศาสนาอื่น ๆ (1%)
ข้อมูลเศรษฐกิจ
GDP                          432.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP Per Capita           1,946 ดอลลาร์สหรัฐ
Real GDP Growth        ร้อยละ 6.3
ทรัพยากรสำคัญ            น้ำมัน ถ่านหิน สัตว์น้ำ
อุตสาหกรรมหลัก           น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า เหมืองแร่
สกุลเงิน                      รูเปียห์
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ       11.85
สินค้านำเข้าที่สำคัญ       น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกที่สำคัญ     ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งทอ
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ       สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ EU ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน สิงคโปร์



3.มาเลเซีย (MALAYSIA)

     • มุ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน ค.ศ. 2020 (Vision 2020) และมีแผนพัฒนาต่อเนื่อง (Mission 2057) เป็นแนวทางพัฒนาประเทศจนถึง ค.ศ. 2057
     • มีบทบาทสำคัญในองค์การการประชุมอิสลาม (OIC)
     • ต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ OIC ภายในปี ค.ศ. 2009 โดยใช้ศักยภาพด้านการบริหารธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
     • ในปี ค.ศ. 2007 นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง และเป็น คู่ค้าสำคัญของไทยในอาเซียน
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่             329,758 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง      กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประชากร        27.73 ล้านคน
ภาษาราชการ  มาเลย์
ศาสนา           อิสลาม (60%) พุทธ (19%) คริสต์ (12%)
วันชาติ           31 สิงหาคม
นายกรัฐมนตรี          ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี
                            (Dato’ Seri Abdullah Ahmad Badawi)
รมว.กต.                 ดาโต๊ะ ซรี อูตามา ดร. ราอิส ยาติม
                            (Datuk Seri Utama Dr. Rais Yatim)
รมช.กต.                ดาโต๊ะ อับดุล ราฮิม บาครี       
                            (Datuk Abdul Rahim Bakri)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957
ข้อมูลเศรษฐกิจ
สกุลเงิน                       ริงกิต
GDP                           53.55 พันล้าน USD
GDP Per Capita            1,931.2 USD
Real GDP Growth         ร้อยละ 6.3
ทรัพยากรสำคัญ            ยางพารา น้ำมันปาล์ม น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ไม้สัก
อุตสาหกรรมหลัก           อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
อัตราเงินเฟ้อ                 ร้อยละ 6.0
สินค้านำเข้าที่สำคัญ       ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ      อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว ปิโตรเลียม เฟอร์นิเจอร์ ยาง น้ำมันปาล์ม
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ         ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ        สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง

ตลาดส่งออกที่สำคัญ        อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป 





4.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE ) 
    • มีความมั่นคงด้านการเมืองภายในทำให้มีความต่อเนื่องของนโยบายในด้านต่าง ๆ และมีนโยบายการทูตเชิงรุก เป็นผู้นำของอาเซียนประเทศหนึ่ง
    • เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านการค้าและบริการ โทรคมนาคม การเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยพื้นที่หรือทรัพยากรธรรมชาติ) โดยมีการพัฒนา ระบบโครงสร้างพื้นฐานและการโทรคมนาคมที่ทันสมัย
    • เป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับไทยในการเข้าถึงและขยายโอกาการค้าและการลงทุน
    • มีระบบการศึกษาและการแพทย์ที่ดีในเอเชีย มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีและต่อเนื่อง
    • มีรัฐบาลที่สะอาด มีการฉ้อราษฎรบังหลวงน้อย
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่                 699.4 ตร. กม.
เมืองหลวง        สิงคโปร์
ประชากร        4.6 ล้านคน
ภาษาราชการ    อังกฤษ จีนกลาง มลายู และทมิฬ
ศาสนา              พุทธ (42.5%) อิสลาม (14.9%) คริสต์ (14.6%) ฮินดู (4%) ไม่นับถือศาสนา (25%)
ประธานาธิบดี             นายเอส อาร์ นาธาน
นายกรัฐมนตรี             นายลี เซียน ลุง
รมว. กต.                     นายจอร์จ เยียว
วันชาติ               9 สิงหาคม
วันสถาปนา คสพ. ทางการทูตกับไทย 20 กันยายน 2508
ข้อมูลเศรษฐกิจ
GDP                    147,542 ล้าน USD
GDP Per Capita           32,074 USD
Real GDP Growth       ร้อยละ 7.7
ทรัพยากรสำคัญ          ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี
อุตสาหกรรมหลัก       การผลิต การก่อสร้าง การคมนาคมขนส่ง และโทรคมนาคม การเงิน และการธนาคาร และการบริการอื่นๆ
สกุลเงิน                       ดอลลาร์สิงคโปร
อัตราเงินเฟ้อ                ร้อยละ 2.1
สินค้านำเข้าที่สำคัญ    เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าน้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ  เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ    มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ไทย ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ  มาเลเซีย สหรัฐฯ สหภาพยุโรป
 


 

5.บรูไน ดารุสซาลาม (BRUNEI DARUSSALAM) 
    • ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว
    • มีน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ
    • มีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรและแรงงาน
    • มีนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง และส่งเสริม Medical Tourism
    • เริ่มพิจารณาขยายการค้าการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย ในภูมิภาคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับไทยในการเพิ่มการค้า การลงทุนกับบรูไน และร่วมกันเข้าไปลงทุนในประเทศที่สามมากขึ้น
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่             5,765 ตาราง กม.
เมืองหลวง      บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ประชากร        381,371 คน
ภาษาราชการ   มาเลย์ (Malay)
ศาสนา           อิสลาม (67%) พุทธ (13%)
                    คริสต์ (10%) และฮินดู
ประมุข/นรม./รมว.กห./กค.
H.M. Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah
รมว. กต.                        H.R.H. Prince Muda Haji Mohamed Bolkiah
วันชาติ                                    23 กุมภาพันธ์
วันสถาปนา คสพ. ทางการทูตกับไทย 1 มกราคม พ.ศ.2527
ข้อมูลเศรษฐกิจ
GDP                         13.54 พันล้าน USD
GDP per capita          35,496 USD
GDP Growth ร้อยละ    1.6
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ     0.3
สินค้าส่งออกที่สำคัญ    น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
สินค้านำเข้าที่สำคัญ     เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
สินค้าเกษตร อาทิ        ข้าวและผลไม้
สกุลเงิน                   ดอลลาร์บรูไน
ทรัพยากรสำคัญ         น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ
อุตสาหกรรมหลัก                   น้ำมัน อาหาร (สินค้าเกษตรและประมง)  และเสื้อผ้า
ตลาดส่งออกที่สำคัญ              ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ   อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น




6.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 
(THE SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM) 
    • เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และมีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาค
    • เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน การบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่องศักยภาพการผลิตสูง แรงงานในประเทศมีคุณภาพ และยังคงมีค่าจ้างแรงงานต่ำ
    • ถูกจับตามองว่าจะเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวไม่สมดุล อัตราเงินเฟ้อสูงมาก
    • ตั้งเป้าหมายเป็นประเทศอุตสาหกรรมภายในปี 2566
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่             331,690 ตร.กม.
เมืองหลวง      กรุงฮานอย
ประชากร                    87 ล้านคน
ภาษาราชการ  เวียดนาม
ศาสนา          พุทธ (มหายาน)
ประธานาธิบดี               นายเหวียน มินห์ เจี๊ยต (Nguyen Minh Triet)
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์   นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น (Nong Duc Manh)
นายกรัฐมนตรี               นายเหวียน เติน ซุง (Nguyen Tan Dung)
รัฐมนตรีต่างประเทศ    นายฝ่าม ซา เคียม (Pham Gia Khiem)
วันชาติ                          2 กันยายน
วันสถาปนา คสพ. ทางการทูตกับไทย 6 สิงหาคม 2519
ข้อมูลเศรษฐกิจ
GDP                          73.5 พันล้าน USD
GDP Per Capita           835 USD
Real GDP Growth        ร้อยละ 6.52
ทรัพยากรสำคัญ            น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่บ๊อกไซต์
อุตสาหกรรมหลัก          อาหาร สิ่งทอ รองเท้า เหมืองแร่ ปูนซีเมนต์
สกุลเงิน                      ด่ง
อัตราเงินเฟ้อ                ร้อยละ 22.14
สินค้านำเข้าที่สำคัญ    วัตถุดิบ วัสดุสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
สินค้าส่งออกที่สำคัญ   น้ำมันดิบ เสื้อผ้า และสิ่งทอ อาหารทะเล ยางพารา ข้าว กาแฟ รองเท้า
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ    สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน
ตลาดส่งออกที่สำคัญ   ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป

 

7.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
(LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC RREPUBLIC)

    • เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบกและทางน้ำ ถึง 1,810 กิโลเมตร พัฒนาการต่าง ๆ ในลาว จึงส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    • สามารถเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบ แหล่งพลังงานสำรอง และแหล่งลงทุนของไทย เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ลาว
    • เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land bridge หรือ land link) ด้านการคมนาคมขนส่งและการส่งออกสินค้าของไทยไปยังประเทศที่สาม ในอนุภูมิภาค
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่              236,800 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง       นครหลวงเวียงจันทน์
ประชากร         ประมาณ 6 ล้านคน
ภาษาราชการ   ภาษาลาว
ศาสนา           พุทธ (75%) นับถือผี (16-17%)
วันชาติ           2 ธันวาคม
ประธานประเทศ         พลโทจูมมะลี ไชยะสอน
(Choummaly SAYASONE)
นายกรัฐมนตรี             นายบัวสอน บุบผาวัน
(Bouasone BOUPHAVANH)
รอง นรม./รมว.กต.      นายทองลุน สีสุลิด
(Thongloun SISOULITH)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 19 ธันวาคม 2493
ข้อมูลเศรษฐกิจ
GDP                         3.94 พันล้าน USD
GDP Per Capita          678 USD
Real GDP Growth       ร้อยละ 7.6
สกุลเงิน                     กีบ
อัตราเงินเฟ้อ               ร้อยละ 4.4
ทรัพยากรสำคัญ           ไม้ ข้าว ข้าวโพด เหล็ก ถ่านหิน ทองคำ แหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า
อุตสาหกรรมหลัก         โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องนุ่งห่ม
สินค้านำเข้าที่สำคัญ      รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่ออุปโภคบริโภค
สินค้าส่งออกที่สำคัญ    ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ     ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี
ตลาดส่งออกที่สำคัญ    ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ 




8.สหภาพพม่า (UNION OF MYANMMAR) 
    • เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบกและทางน้ำ ถึง 1,810 กิโลเมตร พัฒนาการต่าง ๆ ในลาว จึงส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    • สามารถเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบ แหล่งพลังงานสำรอง และแหล่งลงทุนของไทย เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ลาว
    • เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land bridge หรือ land link) ด้านการคมนาคมขนส่งและการส่งออกสินค้าของไทยไปยังประเทศที่สาม ในอนุภูมิภาค
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่              236,800 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง       นครหลวงเวียงจันทน์
ประชากร         ประมาณ 6 ล้านคน
ภาษาราชการ   ภาษาลาว
ศาสนา           พุทธ (75%) นับถือผี (16-17%)
วันชาติ           2 ธันวาคม
ประธานประเทศ         พลโทจูมมะลี ไชยะสอน
(Choummaly SAYASONE)
นายกรัฐมนตรี             นายบัวสอน บุบผาวัน
(Bouasone BOUPHAVANH)
รอง นรม./รมว.กต.      นายทองลุน สีสุลิด
(Thongloun SISOULITH)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 19 ธันวาคม 2493
ข้อมูลเศรษฐกิจ
GDP                         3.94 พันล้าน USD
GDP Per Capita          678 USD
Real GDP Growth       ร้อยละ 7.6
สกุลเงิน                     กีบ
อัตราเงินเฟ้อ               ร้อยละ 4.4
ทรัพยากรสำคัญ           ไม้ ข้าว ข้าวโพด เหล็ก ถ่านหิน ทองคำ แหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า
อุตสาหกรรมหลัก         โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องนุ่งห่ม
สินค้านำเข้าที่สำคัญ      รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่ออุปโภคบริโภค
สินค้าส่งออกที่สำคัญ    ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ     ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี
ตลาดส่งออกที่สำคัญ    ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ 




9.ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA) 

    • มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อไทยในทุกๆ ด้าน เนื่องจากมี พรมแดน ทางบกติดต่อกันยาว 798 กม. และมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลประมาณ 26,000 ตร.กม. จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดทั้ง “โอกาส” และ “ปัญหา”
    •  เป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดการค้าและแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย ทั้งสองประเทศจึงควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทาง ยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต
    •  เป็นจุดเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญระหว่างไทย กับลาวและเวียดนามตอนใต้
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่                       181,035 ตร.กม.
เมืองหลวง              พนมเปญ
ประชากร               14.45 ล้านคน
ภาษาราชการ          เขมร
กษัตริย์                         พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
ประธานสภาแห่งชาติ              สมเด็จอัคคมหาพญาจักรีเฮง สัมริน
นายกรัฐมนตรี             สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซนวัน
รัฐมนตรีต่างประเทศ    นายฮอร์ นัมฮง
ข้อมูลเศรษฐกิจ
GDP                           8.63 พันล้าน USD2
GDP per capita            1,800 USD4
GDP Growth ร้อยละ       ร้อยละ 10.33
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ        ร้อยละ 18.7
 สินค้าส่งออกที่สำคัญ      เสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า ปลา ไม้ ยางพารา บุหรี่และข้าว
สินค้านำเข้าที่สำคัญ        ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนt และเครื่องใช้ไฟฟ้า
สกุลเงิน                       เรียล (Riel) 4,006 เรียล (Riel)
อุตสาหกรรมหลัก            สิ่งทอ สินค้าเกษตรแปรรูป การท่องเที่ยว
ตลาดส่งออกที่สำคัญ             สหรัฐฯ (66.6%) เยอรมนี (9.6%) สหราชอาณาจักร (5.5%) แคนาดา (4%) เวียดนาม (2.7%)
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ               จีน (18.1%) ฮ่องกง (16.8%) เวียดนาม (12.3%) ไทย (12.2%) ไต้หวัน (10.9%)


10.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
    •   ผลักดันความร่วมมือในด้านการค้า พลังงาน ความมั่นคง
    •   ประสบปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
    •   เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของไทยมาเป็นเวลานานและมีมุมมองยุทธศาสตร์ร่วมกันในหลายด้าน
    •   ประสบปัญหาจากขบวนการมุสลิมแบ่งแยกดินแดนภาคใต้
ข้อมูลทั่วไป

พื้นที                    298,170 ตร. กม.
เมืองหลวง             กรุงมะนิลา
ประชากร               91 ล้านคน
ภาษาราชการ         Filipino และอังกฤษ
ศาสนา                 โรมันคาทอลิก (83%) โปรเตสแตนท์ (9%)
ประธานาธิบดี             นางกลอเรีย แมคคาปากอล อาร์โรโย
(Ms.Gloria Macapagal Arroyo)
วันชาติ                  12 มิถุนายน
รอง ปธน.                    นายโนลี เดอ คาสโตร  (Mr,Noli de Castro)
รมว. กต.                     นายอัลเบอร์โต โรมูโล  (Mr.Alberto Romulo)
วันสถาปนา คสพ. ทางการทูตกับไทย 14 มิถุนายน 2492
ข้อมูลเศรษฐกิจ

GDP                    142.3 พันล้าน USD
GDP Per Capita           1,563.73 USD
Real GDP Growth       ร้อยละ 4.4-4.9
ทรัพยากรสำคัญ      สินแร่โลหะ ก๊าซธรรมชาติ ทองแดงและทองคำ
อุตสาหกรรมหลัก     เสื้อผ้า ยา เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไม้ และอาหารแปรรูป
สกุลเงิน                      เปโซ
อัตราเงินเฟ้อ                ร้อยละ 9-11
สินค้านำเข้าที่สำคัญ       ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล  เหล็ก ยานพาหนะ และพลาสติก
สินค้าส่งออกที่สำคัญ      ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลเสื้อผ้าสำเร็จรูป และยานพาหนะ
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ       สหรัฐ ญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์
ตลาดส่งออกที่สำคัญ     สหรัฐ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้